ดัชนีอำนาจจำแนก (Discrimination Index)
ข้อสอบที่มีคุณภาพจะสามารถจำแนกคนที่ทำข้อสอบออกให้เห็นชัดเจนถึงคนในกลุ่มเก่งและคนในกลุ่มอ่อน กล่าวคือข้อสอบที่ดีคนในกลุ่มเก่งจะตอบถูกมากกว่าคนในกลุ่มอ่อน ผู้วิจัยสามารถพิจารณาอำนาจจำแนกของข้อสอบแต่ละข้อได้จากดัชนีอำนาจจำแนกของข้อสอบ ซึ่งดัชนีอำนาจจำแนกจะมีค่าอยู่ระหว่าง - 1 ถึง + 1 แต่ค่าที่สามารถยอมรับได้จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0.20 ขึ้นไปถึง 1.00 ถ้าข้อสอบมีดัชนีอำนาจจำแนกต่ำกว่า 0.20 แสดงว่าข้อสอบนั้นมีคุณภาพต่ำในการจำแนกคนในกลุ่มเก่งออกจากคนในกลุ่มอ่อน ผู้วิจัยจะต้องปรับปรุงหรือตัดข้อสอบข้อนั้นทิ้งไป ถ้าข้อสอบมีดัชนีอำนาจจำแนกเข้าใกล้ 1.00 มากเท่าใดแสดงว่าข้อสอบข้อนั้นสามารถจำแนกคนในกลุ่มเก่งออกจากคนในกลุ่มอ่อนได้ดี
ดัชนีอำนาจจำแนก
0.40 ขึ้นไป เป็นข้อสอบที่ดีมาก
0.30 - 0.39 เป็นข้อสอบที่ค่อนข้างดี
0.20 – 0.29 เป็นข้อสอบที่พอใช้แต่ต้องปรับปรุง
ต่ำกว่า 0.20 เป็นข้อสอบที่ไม่ดี ต้องตัดทิ้งหรือปรับปรุง
วิธีการแบ่งจำนวนคนทำข้อสอบออกเป็นกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ ผู้วิจัยสามารถใช้เกณฑ์ 50% หรือ 25% หรือ 27 % การวิเคราะห์ดัชนีอำนาจจำแนกสามารถคำนวณได้โดยใช้สูตร
r คือ ค่าอำนาจจำแนก
RU คือจำนวนคนในกลุ่มสูงที่ตอบถูก
RL คือจำนวนคนในกลุ่มต่ำที่ตอบถูก
N คือคนในกลุ่มสูงหรือกลุ่มต่ำ
ยกตัวอย่างเช่น ข้อสอบวิชาหนึ่งมีคนเข้าสอบจำนวน 40 คน ผู้เขียนใช้วิธีการแบ่งจำนวนคนที่ทำข้อสอบออกเป็นคนในกลุ่มสูงและคนในกลุ่มต่ำโดยใช้เกณฑ์ 50% จึงได้คนในกลุ่มสูง 20 คน และคนในกลุ่มต่ำ 20 คน
ข้อสอบข้อที่ 1 มีคนในกลุ่มสูงที่ตอบถูกจำนวน 15 คน คนในกลุ่มต่ำที่ตอบถูกจำนวน 5 คน ข้อสอบข้อนี้มีดัชนีอำนาจจำแนกดังนี้
จากข้อสอบข้อที่ 1 แสดงว่าข้อสอบข้อนี้เป็นข้อสอบที่ดีและสามารถจำแนกคนเก่งออกจากคนอ่อนได้ดี
ข้อสอบข้อที่ 2 มีคนในกลุ่มสูงที่ตอบถูกจำนวน 15 คน คนในกลุ่มต่ำที่ตอบถูกจำนวน 15 คน ข้อสอบข้อนี้มีดัชนีอำนาจจำแนกดังนี้
จากข้อสอบข้อที่ 2 แสดงว่าข้อสอบข้อนี้เป็นข้อสอบที่ใช้ไม่ได้ เพราะไม่สามารถจำแนกคนเก่งออกจากคนอ่อนได้ จึงต้องทำการปรับปรุงใหม่หรือตัดทิ้งไป
ข้อสอบข้อที่ 3 มีคนในกลุ่มสูงที่ตอบถูกจำนวน 5 คน คนในกลุ่มต่ำที่ตอบถูกจำนวน 15 คน ข้อสอบข้อนี้มีดัชนีอำนาจจำแนกดังนี้
จากข้อสอบข้อที่ 2 แสดงว่าข้อสอบข้อนี้เป็นข้อสอบที่ใช้ไม่ได้ เพราะมีดัชนีอำนาจจำแนกติดลบ ซึ่งแสดงว่าคนอ่อนตอบถูกมากกว่าคนเก่ง
ประสิทธิภาพของตัวลวง (Distracter Efficiency)
ประสิทธิภาพของตัวลวงเป็นอีกคุณลักษณะหนึ่งที่บ่งบอกถึงข้อสอบที่มีคุณภาพ ตัวลวงที่มีประสิทธิภาพควรเป็นตัวลวงที่คนในกลุ่มอ่อนเลือกตอบมากกว่าคนในกลุ่มเก่ง และควรจะเป็นตัวลวงที่มีคนเลือกอย่างน้อยร้อยละ 5 ถ้าข้อสอบข้อใดเป็นข้อสอบที่ไม่มีคนใดเลือกตอบเลยหรือถ้าเลือกตอบก็เลือกตอบไม่ถึงร้อยละ 5 ถือว่าเป็นตัวลวงที่มีคุณภาพต่ำและควรได้รับการปรับปรุง
เอกสารอ้างอืง
บุญเรียง ขจรศิลป์.2539.วิธีวิจัยในชั้นเรียน.กรุงเทพมหานคร:หจก.พี.เอ็น.การพิมพ์
อัจฉรา วงศ์โสธร.2539.การทดสอบและการประเมินผลการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ.กรุงเทพมหานคร.โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.