วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความตรงของเครื่องมือ (Validity)

เมื่อผู้วิจัยสร้างข้อสอบเสร็จเรียบร้อยแล้วผู้วิจัยจะต้องหาค่าความตรงของข้อสอบนั้นก่อนที่จะนำไปใช้จริงทั้งนี้เพื่อตรวจสอบว่าข้อสอบสามารถวัดได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ผู้วิจัยได้กำหนดไว้หรือไม่ ข้อสอบที่ดีต้องมีความตรงสูง ความตรงของข้อสอบแบ่งออกเป็นชนิดใหญ่ๆ ได้ดังนี้
1. ความตรงตามเนื้อหา  (Content Validity) การตรวจสอบหาความตรงของข้อสอบมีวัตถุประสงค์เพื่อดูว่าข้อสอบนั้นมีความครอบคลุมเนื้อหา ทักษะ และพฤติกรรมที่ต้องการวัดมากน้อยเพียงไร
2. ความตรงตามเกณฑ์ (Criterion-Related  Validity) การตรวจสอบหาความตรงตามเกณฑ์มีวัตถุประสงค์เพื่อดูความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนของข้อสอบที่จะตรวจสอบหาความตรงกับเกณฑ์ว่าคะแนนที่ได้จากการทดสอบสามารถนำไปใช้ในการทำนายหรือคาดคะเนผลการเรียนของผู้ทำข้อสอบในปัจจุบันหรืออนาคตได้มากน้อยเพียงใด ความตรงตามเกณฑ์มี 2 ชนิดคือ
            2.1ความตรงเชิงสภาพ  (Concurrent Validity) การตรวจสอบหาความตรงเชิงสภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อดูคุณสมบัติของข้อสอบว่าสามารถวัดพฤติกรรมต่างๆ ของผู้ทำข้อสอบได้สอดคล้องและสัมพันธ์กับสภาพตามความเป็นจริงของผู้ทำข้อสอบในปัจจุบันหรือไม่
                2.2 ความตรงเชิงพยากรณ์ (Predictive Validity) การตรวจสอบหาความตรงเชิงพยากรณ์มีวัตถุประสงค์เพื่อดูคุณสมบัติของข้อสอบว่าสามารถทำนายพฤติกรรมต่างๆ ของผู้ทำข้อสอบในขณะนั้นได้สอดคล้องและสัมพันธ์กับสภาพตามความเป็นจริงของผู้ทำข้อสอบในอนาคตหรือไม่
3. ความตรงตามโครงสร้าง (Construct Validity) การตรวจสอบหาความตรงตามโครงสร้างมีวัตถุประสงค์เพื่อดูว่าเครื่องมือวิจัยหรือข้อสอบนั้นสามารถใช้วัดหรืออธิบายสิ่งที่ต้องการวัดได้สอดคล้องตามทฤษฎีหรือไม่
การหาค่าความตรงตามเนื้อหา
 เป็นการหาว่าข้อสอบสามารถวัดได้ครอบคลุมตามสิ่งที่ต้องการวัดหรือไม่โดยให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวนอย่างน้อย ๓ คน ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์หรือที่เรียกกันว่าการหาค่าดัชนีการสอดคล้อง  IOC          (  Index  of  Item Objective Congruency ) โดยใช้สูตรและเกณฑ์ในการตรวจพิจารณาข้อคำถามดังนี้
สูตรการหาค่าดัชนีการสอดคล้อง 







IOC  =  ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์
    R  =  คะแนนของผู้เชี่ยวชาญ
 R   =  ผลรวมของคะแนนของผู้เชี่ยวชาญแต่ละคน
   N  =   จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
 เกณฑ์ในการตรวจพิจารณาข้อคำถามผู้เชี่ยวชาญจะให้คะแนนคำถามแต่ละข้อดังนี้ +1 หรือ 0 หรือ -1
+1  = แน่ใจว่าข้อคำถามวัดได้ตรงตามจุดประสงค์ที่ระบุไว้จริง
   0 = ไม่แน่ใจว่าข้อคำถามวัดได้ตรงตามจุดประสงค์ที่ระบุไว้จริง
 -1   =  แน่ใจว่าข้อคำถามวัดได้ไม่ตรงตามจุดประสงค์ที่ระบุไว้จริง
ถ้าข้อคำถามใดที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.50-1.00 ถือว่ามีค่าความเที่ยงตรง ใช้ได้
ตัวอย่างเช่น  คำถามข้อที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ให้คะแนน +1 ทุกคน



เอกสารอ้างอิง
บุญเรียง ขจรศิลป์.2539.วิธีวิจัยในชั้นเรียน.กรุงเทพมหานคร:หจก.พี.เอ็น.การพิมพ์
สุรพงษ์ คงสัตย์ และ ธีรชาติ ธรรมวงค์ (2551)''การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC)'' http://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=656&articlegroup_id=146


1 ความคิดเห็น:

  1. IOC คือ ค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม หรือค่าสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ หรือเนื้อหา (IOC: Index of item objective congruence) ปกติแล้วจะให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปในการตรวจสอบโดยให้เกณฑ์ในการตรวจพิจารณาข้อคำถาม ดังนี้
    ให้คะแนน +1 ถ้าแน่ใจว่าข้อคำถามวัดได้ตรงตามวัตถุประสงค์
    ให้คะแนน 0 ถ้าไม่แน่ใจว่าข้อคำถามวัดได้ตรงตามวัตถุประสงค์
    ให้คะแนน -1 ถ้าแน่ใจว่าข้อคำถามวัดได้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์
    แล้วนำผลคะแนนที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญมาคำนวณหาค่า IOC ตามสูตร
    เกณฑ์
    1. ข้อคำถามที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.50-1.00 มีค่าความเที่ยงตรง

    ตอบลบ