ดัชนีอำนาจจำแนก (Discrimination Index)
ข้อสอบที่มีคุณภาพจะสามารถจำแนกคนที่ทำข้อสอบออกให้เห็นชัดเจนถึงคนในกลุ่มเก่งและคนในกลุ่มอ่อน กล่าวคือข้อสอบที่ดีคนในกลุ่มเก่งจะตอบถูกมากกว่าคนในกลุ่มอ่อน ผู้วิจัยสามารถพิจารณาอำนาจจำแนกของข้อสอบแต่ละข้อได้จากดัชนีอำนาจจำแนกของข้อสอบ ซึ่งดัชนีอำนาจจำแนกจะมีค่าอยู่ระหว่าง - 1 ถึง + 1 แต่ค่าที่สามารถยอมรับได้จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0.20 ขึ้นไปถึง 1.00 ถ้าข้อสอบมีดัชนีอำนาจจำแนกต่ำกว่า 0.20 แสดงว่าข้อสอบนั้นมีคุณภาพต่ำในการจำแนกคนในกลุ่มเก่งออกจากคนในกลุ่มอ่อน ผู้วิจัยจะต้องปรับปรุงหรือตัดข้อสอบข้อนั้นทิ้งไป ถ้าข้อสอบมีดัชนีอำนาจจำแนกเข้าใกล้ 1.00 มากเท่าใดแสดงว่าข้อสอบข้อนั้นสามารถจำแนกคนในกลุ่มเก่งออกจากคนในกลุ่มอ่อนได้ดี
ดัชนีอำนาจจำแนก
0.40 ขึ้นไป เป็นข้อสอบที่ดีมาก
0.30 - 0.39 เป็นข้อสอบที่ค่อนข้างดี
0.20 – 0.29 เป็นข้อสอบที่พอใช้แต่ต้องปรับปรุง
ต่ำกว่า 0.20 เป็นข้อสอบที่ไม่ดี ต้องตัดทิ้งหรือปรับปรุง
วิธีการแบ่งจำนวนคนทำข้อสอบออกเป็นกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ ผู้วิจัยสามารถใช้เกณฑ์ 50% หรือ 25% หรือ 27 % การวิเคราะห์ดัชนีอำนาจจำแนกสามารถคำนวณได้โดยใช้สูตร
r คือ ค่าอำนาจจำแนก
RU คือจำนวนคนในกลุ่มสูงที่ตอบถูก
RL คือจำนวนคนในกลุ่มต่ำที่ตอบถูก
N คือคนในกลุ่มสูงหรือกลุ่มต่ำ
ยกตัวอย่างเช่น ข้อสอบวิชาหนึ่งมีคนเข้าสอบจำนวน 40 คน ผู้เขียนใช้วิธีการแบ่งจำนวนคนที่ทำข้อสอบออกเป็นคนในกลุ่มสูงและคนในกลุ่มต่ำโดยใช้เกณฑ์ 50% จึงได้คนในกลุ่มสูง 20 คน และคนในกลุ่มต่ำ 20 คน
ข้อสอบข้อที่ 1 มีคนในกลุ่มสูงที่ตอบถูกจำนวน 15 คน คนในกลุ่มต่ำที่ตอบถูกจำนวน 5 คน ข้อสอบข้อนี้มีดัชนีอำนาจจำแนกดังนี้
จากข้อสอบข้อที่ 1 แสดงว่าข้อสอบข้อนี้เป็นข้อสอบที่ดีและสามารถจำแนกคนเก่งออกจากคนอ่อนได้ดี
ข้อสอบข้อที่ 2 มีคนในกลุ่มสูงที่ตอบถูกจำนวน 15 คน คนในกลุ่มต่ำที่ตอบถูกจำนวน 15 คน ข้อสอบข้อนี้มีดัชนีอำนาจจำแนกดังนี้
จากข้อสอบข้อที่ 2 แสดงว่าข้อสอบข้อนี้เป็นข้อสอบที่ใช้ไม่ได้ เพราะไม่สามารถจำแนกคนเก่งออกจากคนอ่อนได้ จึงต้องทำการปรับปรุงใหม่หรือตัดทิ้งไป
ข้อสอบข้อที่ 3 มีคนในกลุ่มสูงที่ตอบถูกจำนวน 5 คน คนในกลุ่มต่ำที่ตอบถูกจำนวน 15 คน ข้อสอบข้อนี้มีดัชนีอำนาจจำแนกดังนี้
จากข้อสอบข้อที่ 2 แสดงว่าข้อสอบข้อนี้เป็นข้อสอบที่ใช้ไม่ได้ เพราะมีดัชนีอำนาจจำแนกติดลบ ซึ่งแสดงว่าคนอ่อนตอบถูกมากกว่าคนเก่ง
ประสิทธิภาพของตัวลวง (Distracter Efficiency)
ประสิทธิภาพของตัวลวงเป็นอีกคุณลักษณะหนึ่งที่บ่งบอกถึงข้อสอบที่มีคุณภาพ ตัวลวงที่มีประสิทธิภาพควรเป็นตัวลวงที่คนในกลุ่มอ่อนเลือกตอบมากกว่าคนในกลุ่มเก่ง และควรจะเป็นตัวลวงที่มีคนเลือกอย่างน้อยร้อยละ 5 ถ้าข้อสอบข้อใดเป็นข้อสอบที่ไม่มีคนใดเลือกตอบเลยหรือถ้าเลือกตอบก็เลือกตอบไม่ถึงร้อยละ 5 ถือว่าเป็นตัวลวงที่มีคุณภาพต่ำและควรได้รับการปรับปรุง
เอกสารอ้างอืง
บุญเรียง ขจรศิลป์.2539.วิธีวิจัยในชั้นเรียน.กรุงเทพมหานคร:หจก.พี.เอ็น.การพิมพ์
อัจฉรา วงศ์โสธร.2539.การทดสอบและการประเมินผลการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ.กรุงเทพมหานคร.โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
การให้ความหมายของอำนาจจำแนกที่เข้าใจง่ายให้เพื่อน ๆ ลอกอ่านเพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น
ตอบลบอำนาจจำแนก (discrimination) หรือ การจำแนก เป็นค่าสถิติที่ใช้อธิบายคุณภาพของข้อสอบหรือข้อคำถามรายข้อโดยทั่วไป มีค่าอยู่ระหว่าง -1.00 ถึง +1.00 ถ้ามีค่าเท่ากับ 1.00 ถือว่ามีค่าอำนาจจำแนกที่สมบูรณ์ ถ้ามีค่าเท่ากับ -1.00 ถือว่ามีอำนาจจำแนกในทางตรงกันข้ามสูงสุด เป็นลักษณะที่ไม่พึงปรารถนา ไม่ค่อยพบและไม่น่าพบถ้ามีค่าเท่ากับ .00 นับว่าไม่มีอำนาจจำแนก ค่าอำนาจจำแนกที่เป็นบวกมีค่าสูง เป็นสิ่งที่พึงปรารถนา ค่าอำนาจจำแนกที่เป็นลบเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาในการหาค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ จะหาเฉพาะข้อสอบแบบเลือกตอบ ซึ่งนอกจากจะหาเป็นรายข้อ (ค่าอำนาจจำแนกที่วิเคราะห์ออกมาจะเป็นค่าอำนาจจำแนกของคำตอบที่ถูกของข้อนั้น) แล้ว ยังมีการวิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนกของตัวลวงอื่น ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงข้อสอบข้อนั้น เพราะช่วยให้ทราบว่าตัวลวงใดมีคุณภาพหรือไม่มีคุณภาพ ทำให้สามารถปรับปรุงข้อสอบได้ตรงจุด
อำนาจจำแนกมีหลายนิยาม ในที่นี้จะกล่าว 2 กรณี คือ กรณีของข้อสอบวัดความถนัด ข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์อิงกลุ่ม (norm referenced) และข้อคำถามที่เป็น rating scale กับกรณีข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์อิงเกณฑ์ (criterion referenced)
การหาค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบความถนัดข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์อิงกลุ่มและข้อคำถามแบบ Rating scale
อำนาจจำแนกในกรณีนี้หมายถึงประสิทธิภาพของข้อนั้นในการจำแนกกลุ่มสูงกับกลุ่มต่ำ การจัดกลุ่มว่าใครอยู่ในกลุ่มสูงหรือกลุ่มต่ำ นิยมใช้คะแนนรวมเป็นเครื่องตัดสินผู้ที่ได้คะแนนรวมสูงจะได้รับการจัดให้เป็นกลุ่มสูง ผู้ที่ได้คะแนนรวมต่ำจะได้รับการจัดให้เป็นกลุ่มต่ำ
การหาค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบความถนัดและข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์อิงกลุ่ม มีหลายวิธี วิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมและเข้าใจง่าย คือ วิธีหาจากสูตรที่ว่า (สูตรของ Pemberton A. Johnson) หลังจากนั้นก็เป็นสูตรเดียวกับที่อาจารย์ขึ้นไว้
นำข้อมูลเพิ่มเติมที่ค้นคว้าได้มาแบ่งปันค่ะ ^^
ตอบลบ1. วิธีหาค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์อิงกลุ่มและของข้อสอบความถนัดใช้วิธีเดียวกันและสามารถหาได้หลายวิธี แตกต่างไปจากวิธีหาค่าอำนาจจำแนกของคำถามหรือข้อความที่เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) แต่อย่างไรก็ตาม อำนาจจำแนกของข้อสอบหรือข้อคำถาม 3 ประเภทนี้มีนิยามตรงกัน คือ ประสิทธิภาพในการจำแนกกลุ่มสูงกับกลุ่มต่ำ
2. วิธีหาค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์อิงเกณฑ์มีหลายวิธี วิธีของ Kryspin และ Feldluson นิยามว่า อำนาจจำแนกคือ ประสิทธิภาพในการจำแนกกลุ่มที่เรียนแล้วกับกลุ่มที่ยังไม่ได้เรียน ส่วนวิธีของ Brennan มีนิยามว่า อำนาจจำแนก คือประสิทธิภาพในการจำแนกกลุ่มรอบรู้กับกลุ่มไม่รอบรู้
3. ค่าอำนาจจำแนกที่หาตามวิธีต่าง ๆ แม้จะเป็นข้อเดียวกัน วิเคราะห์จากข้อมูลเดียวกันโดยทั่วไป จะให้ค่าไม่ตรงกัน วิธีอื่นจะให้ค่าคงที่ แต่วิธีของ Brennan นั้น ผู้ใช้จุดตัดแตกต่างกันก็จะทำให้ได้ค่าที่ไม่ตรงกันได้
4. การวิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนกไม่ว่าจะเป็นของเครื่องมือชนิดใด หรือหาโดยวิธีใด ควรวิเคราะห์จากผลการสอบหรือการวัดหรือผลการสอบถามจากคนจำนวนมากจากหลายห้อง ผู้สอนหลายคน ซึ่งจะทำให้ได้ค่าที่เที่ยงตรง การวิเคราะห์จากผลการวัดจากนักเรียนเพียงห้องเดียวอาจเกิดปัญหาหาค่าอำนาจจำแนกไม่ได้ หรือได้ค่าอำนาจจำแนกต่ำมาก เมื่อข้อมู่ลการวัดที่นำมาวิเคราะห์ไม่มีความแปรปรวนหรือมีความแปรปรวนน้อยมาก โดยแต่ละคนล้วนได้คะแนนสูง อันเนื่องมาจากการเรียนการสอนครั้งนั้นประสบผลสูง หรือแต่ละคนล้วนได้คะแนนต่ำ
5. การวิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนก แม้ว่าจะเป็นวิธีของข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์อิงเกณฑ์ แต่ก็สามารถนำมาใช้กับข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์อิงกลุ่มได้ และกรณีที่จำเป็นต้องวิเคราะห์จากข้อมูลจำนวนไม่มาก จากผลการสอบของนักเรียนที่เรียนจากครูคนเดียว นักเรียนที่มีความสามารถใกล้เคียงกัน เช่นนักเรียนที่เก่งทั้งหมด
6. คุณภาพด้านอำนาจจำแนกควรพิจารณาหลังจากที่ได้กลั่นกรองคุณภาพในการวัดสิ่งที่ต้องการวัดมาแล้ว (ด้านผลสัมฤทธิ์พิจารณาว่าวัดตรงตามจุดประสงค์ในเนื้อหาสาระที่มุ่งวัด) นั่นคือต้องมีคุณภาพด้านความเที่ยงตรงก่อน จึงจะนำมาพิจารณาด้านอำนาจจำแนก
อ่านดูแล้วเหมือนจะยาก ดูสับสนนะค่ะ แต่พอได้ศึกษาดูแล้ว ทำให้เข้าใจได้ดีขึ้นเยอะเลยค่ะ
ตอบลบเมื่ออ่าน ศึกษาดูแล้วเหมือนจะยากนะค่ะ ดูสับสนพอสมควรแต่เมื่อได้อ่านให้เข้าใจก็ง่ายๆเองค่ะ
ตอบลบหมายความว่าค่าต่าง ๆ ที่จะต้องหาไม่ว่าจะเป็นดรรชนีความยาก หรือค่าอำนาจจำแนก รวมถึงประสิทธิภาพตัวลวงจะใช้ได้เฉพาะข้อสอบที่เป็นตัวเลือก หรือปรนัยเท่านั้นใช่หรือเปล่าคะ แล้วถ้าเป็นข้อสอบแบบจับคู่หรือถูกผิดหรือเติมคำในช่องว่าง จำเป็นต้องหาค่าเหล่านี้หรือเปล่าคะ
ตอบลบได้ข้อมูลไปอ้างอิงในบทที่ 3 เยอะเลย
ตอบลบและก็เข้าใจเรื่องสถิติมากขึ้นด้วย
การหาค่าอำนาจจำแนกทำได้โดยการแบ่งกลุ่มผู้ตอบออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้คะแนนสูง และกลุ่มที่ได้คะแนนต่ำ ค่าอำนาจจำแนกจะแทนด้วยตัวอักษร r และมีค่าระหว่าง-1.0จนถึง+1.0ถ้ามีค่าเข้าใกล้0 แปลว่ามีค่าอำนาจจำแนกน้อย ถ้าเข้าใกล้ 1 แสดงว่ามีค่าอำนาจจำแนกมาก ข้อคำถามที่ดีจะต้องมีค่าอำนาจจำแนก0.2 ขึ้นไปและยิ่งมีค่ามากยิ่งดี
ตอบลบความเป็นปรนัย(objectivity)เครื่ิงมือที่รวบรวมข้อมูลที่ดีจะต้องมีความเป็นปรนัยสูงคือเมื่อทุกคนอ่านหรือเครื่องมือนั้นแล้วจะต้องเข้าใจความหมายตรงกันไม่ว่าจะอ่านเวลาใดก็ตามรวมทั้งแปลผลออกมาเป็นคะแนนจะต้องมีเกณฑ์ที่แน่นอนไม่ว่าใครจะเป็นผู้แปลผลจะต้องได้ค่าคะแนนตรงกันเสมอ
ตอบลบดัชนีอำนาจจำแนกเราจะนำมาใช้ตรวจสอบว่าข้อสอบนั้นเป็นข้อสอบที่ดีหรือไม่ โดยดัชนีอำนาจจำแนกจะสามารถแยกคนกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำออกจากจากกัน ดัชนีอำนาจจำแนกจะมีค่าอยู่ระหว่าง -1ถึง+1 แต่ที่สามารถยอมรับได้จะอยู่ระหว่าง 0.20 ขึ้นไปถึง 1.00 ถ้าดัชนีอำนาจจำแนกต่ำกว่า 0.20 ก็แสดงว่าข้อสอบที่เราสร้างขึ้นมาไมสามารถแยกคนกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำออกจากกันได้อย่างชัดเจน แต่ถ้าดัชนีอำนาจจำแนกเข้าใกล้ 1.00 ก็แสดงว่าข้อสอบนั้นสามารถแยกคนกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำออกจากกันได้อย่างชัดเจน นอกจากเราจะดูดัชนีอำนาจจำแนกแล้ว ถ้ามีตัวลวงข้อสอบที่ดีก็สามารถแยกคนกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำออกจากกันได้อย่างชัดเจนเช่นกันใช่ไหมค่ะ ใครทราบช่วยตอบคำถามด่วน ขอบคุณค่ะ อิอิ
ตอบลบได้ความรู้ เอาไปใช้ทำวิทยานิพนธ์ เยอะมากเลยค่ะ การหากลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ การใช้สูตร หาค่าความแปรปรวน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ตอบลบตัวลวงที่มีประสิทธิภาพควรเป็นตัวลวงที่คนในกลุ่มอ่อนเลือกตอบมากกว่าคนในกลุ่มเก่ง และควรจะเป็นตัวลวงที่มีคนเลือกอย่างน้อยร้อยละ 5 ถ้าข้อสอบข้อใดเป็นข้อสอบที่ไม่มีคนใดเลือกตอบเลยหรือถ้าเลือกตอบก็เลือกตอบไม่ถึงร้อยละ 5 ถือว่าเป็นตัวลวงที่มีคุณภาพต่ำและควรได้รับการปรับปรุง
ตอบลบ...........ดีมากเลยนะค่ะ....จริงอย่างที่กล่าว
ถ้าเราต้องการที่จะวัดผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้คำศัพท์เราจะต้องออกแบบทดสอบเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ใช่ไหมคะ แล้วเราจะต้องหาค่าอะไรบ้างใครรู้ช่วยตอบหน่อย ยังทำบทที่ 3 ไม่ได้เลย
ตอบลบเครื่องมือที่ดีจะต้องมีอำนาจจำแนกสูงในการแบ่งแยกสิ่งที่ต้องการวัดออกมา เช่น แยกผู้มีความรู้เรื่องการออกกำลังกาย ออกจากผู้ที่ไม่มีความรู้เรื่องการออกกำลังกาย คนตอบถูกจะต้องมีความรู้เรื่องนั้นจริงๆและคนที่ไม่มีความรู้ก็ควรจะตอบผิด
ตอบลบการหาอำนาจจำแนกทำได้โดยการแบ่งกลุ่มผู้ตอบออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้คะแนนสูง และกลุ่มที่ได้คะแนนต่ำ ค่าอำนาจจำแนกจะแทนด้วยตัวอักษร r และมีค่าระหว่าง -1.0 จนถึง +1.0
-ถ้ามีค่าเข้าใกล้ 0 แปลว่ามีอำนาจจำแนกน้อย
-ถ้าเข้าใกล้ 1 แสดงว่ามีอำนาจจำแนกมาก
-ข้อคำถามที่ดีต้องมีอำนาจจำแนก 0.2 ขึ้นไป และยิ่งค่ามากยิ่งดี
ใครพอมีตัวอย่างตารางหาค่าiocที่ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจเเบบประเมินทักษะการทำงานกลุ่มบ้างครับ และ แบบวัดเจตคติการเรียนด้วยครับ ของดูเป็นตัวอย่างหน่อย ค่าioc พอจะหาเป็น เเต่อยากได้ตัวอย่างตาราง
ตอบลบค่าจำแนกติดลบ คือ
ตอบลบก.เด็กเก่งทำไม่ได้ เด็กอ่อนทำได้
ข.เด็กเก่งทำได้ เด็กอ่อนทำไม่ได้
ค.เด็กเก่งทำได้ เด็กอ่อนทำได้
ง.เด็กเก่งทำไม่ได้ เด็กอ่อนทำไม่ได้